ค้นหาบ้าน คอนโด ที่ดินฯลฯ ตรงใจ

พิมพ์คำค้นหาที่ต้องการ เช่น ทำเล ชื่อโครงการ

ถนนสาทร (สาธร) ถนนที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์

ถนนสาทร (สาธร) ถนนที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์

ถนนสาทร เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ 4 เข้ากับถนนเจริญกรุง และเป็นเส้นทางหนึ่งที่เชื่อมกับฝั่งธนบุรีโดยสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สะพานสาทร) โดยแบ่งได้เป็น 2 ฝั่ง ซึ่งแบ่งโดยใช้คลองสาทร ได้แก่ ฝั่งเหนือคือ "ถนนสาทรเหนือ" อยู่ในแขวงสีลม เขตบางรัก และฝั่งใต้คือ "ถนนสาทรใต้" อยู่ในแขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร

ย้อนไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในปี พ.ศ. 2431
เรื่องราวของ หลวงสาทรราชายุทธกับการพัฒนาถนนสาทร หรือเจ้าสัวยม เป็นตัวอย่างสำคัญของการพัฒนาประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยเจริญรุ่งเรืองและการค้าขายเฟื่องฟู แต่ยังขาดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น ถนนและคลอง
ในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้สนับสนุนการลงทุนในโครงการขุดคลองและสร้างถนน โดยประกาศเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมลงทุน โดยเฉพาะพื้นที่รกร้างริมคลองและถนน หลวงสาทรราชายุทธเองมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคลองและถนนสายนี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชาวจีนที่มองเห็นโอกาสในการพัฒนา และได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทเพื่อขุดคลองสาทรเชื่อมจากแม่น้ำเจ้าพระยาถึงคลองหัวลำโพง หลังขุดคลองเสร็จ ดินที่ได้จากการขุดถูกนำมาถมสร้างถนนทั้งสองฝั่ง ปัจจุบันคือถนนพระราม 4  คลองและถนนสาทรจึงถือเป็นผลงานที่ทำให้หลวงสาทรราชายุทธได้รับบรรดาศักดิ์ ชาวบ้านจึงเรียกคลองและถนนที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า “คลองสาทร” และ “ถนนสาทร” เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน
ในอดีตถนนสาทรมีต้นมะฮอกกานี ปลูกอยู่ริมคลองสาทรทั้ง 2 ด้าน เดิมเป็นถนนเพียง 1 ช่องจราจรทั้งไปและกลับ ต่อมาขยายเป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจรทั้งไปและกลับ และขยายเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ช่องจราจรทั้งไปและกลับ โดยถนนช่องจราจรที่ 3 ได้กินพื้นที่ของคลองสาทรบางส่วนไปด้วย ทำให้คลองสาทรในปัจจุบันเล็กกว่าเดิมเกือบเท่าตัว ซึ่งการขยายถนนครั้งหลังสุดเกิดขึ้นเมื่อมีการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในช่วงปี พ.ศ. 2522 - 2525 ถนนสาทรเคยเป็นย่านเก่าแก่ของพ่อค้าชาวจีนและชาวยุโรป จึงปรากฏบ้านทรงตะวันตกหลายหลังริมถนน
ในอดีตเคยใช้ตัวสะกดชื่อถนนว่า "สาธร" ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น "สาทร"

บ้านหลวงสาทร ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสาทร ยังคงสะท้อนความงดงามของสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ในยุคนั้น และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโรงแรม W Bangkok

ถนนสาทรไม่เพียงแต่เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนสายนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ปัจจุบันถือว่าเป็นถนนสายเศรษฐกิจที่สำคัญอีกสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ด้วยแวดล้อมไปด้วยบริษัทห้างร้านและอาคารของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมถึงคอนโดมิเนียมและอาคารชุด เช่นเดียวกับถนนสีลมที่อยู่ใกล้เคียง โดยมีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ยกระดับเหนือคลองสาทร โดยสถานีรถไฟฟ้าบนถนนสาทรอยู่ 3 สถานี คือ สถานีเซนต์หลุยส์, สุรศักดิ์ และสะพานตากสิน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง