ค้นหาบ้าน คอนโด ที่ดินฯลฯ ตรงใจ

พิมพ์คำค้นหาที่ต้องการ เช่น ทำเล ชื่อโครงการ

"ดัชนีความร้อน"

"ดัชนีความร้อน"

2566 รายงาน "ดัชนีความร้อน" พุ่งสูงทะลุเกิน 50 องศาเซลเซียส



"ดัชนีความร้อน" คืออะไร

"ดัชนีความร้อน" คือ การนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริง และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น
ดัชนีความร้อนจะสะท้อนว่าร่างกายของคนเรา “รู้สึก” ว่าอากาศร้อนแค่ไหน
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าหากความชื้นสัมพัทธ์สูง ก็จะทำให้เหงื่อระเหยยาก ผลก็คือเรารู้สึก “ร้อนกว่า” อุณหภูมิจริงของอากาศ ตัวอย่างเช่น
ถ้าอากาศมีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์ 80% จะพบว่าค่าดัชนีความร้อนคือ 38 องศา ภายใต้เงื่อนไขว่าเราอยู่ในที่ร่ม และไม่ได้ทำกิจกรรมอะไร (แต่อาจมีลมพัดเบาๆ ได้)

"ดัชนีความร้อน" สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อนำมาสู่การปฏิบัติตัวเพื่อการดูแลตนเอง โดยค่าดัชนีความร้อนในระดับต่างๆ จะส่งผลต่อสุขภาพแบ่งเป็น 4 ระดับด้วยกัน ดังนี้

ดัชนีความร้อนที่ 27-32 องศาเซลเซียส
อยู่ในระดับเฝ้าระวัง ทำให้อ่อนเพลียวิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความ ออกกำลังกาย หรือการใช้แรงงานกลางแจ้งท่ามกลางอากาศร้อน

ดัชนีความร้อนที่ 32-41องศาเซลเซียส
อยู่ในระดับเตือนภัย อาจเกิดภาวะตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

ดัชนีความร้อนที่ 41-54 องศาเซลเซียส
อยู่ในระดับอันตราย อาจมีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

ดัชนีความร้อนมากกว่า 54 องศาเซลเซียส
อยู่ในระดับอันตรายมาก เสี่ยงต่อการเกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก
ดังนั้น ในวันที่ค่าดัชนีอากาศสูง จึงควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง พยายามจิบน้ำเปล่าอยู่เรื่อยๆ ลดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ สุรา และน้ำอัดลม


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง