สาระน่ารู้
ทำความรู้จัก กรมธนารักษ์ ให้มากขึ้น
ฮิต: 301
กรมธนารักษ์ กรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงการคลัง ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของแผ่นดิน และที่ดิน หน่วยงานนี้มีหน้าที่อะไรบ้าง เกี่ยวข้องกับผู้ซื้อและผู้ขายอย่างไร รวมทั้งมีบทบาทอย่างไรในวงการอสังหาริมทรัพย์ เรามาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กัน
ประวัติโดยย่อของกรมธนารักษ์
กรมธนารักษ์ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2476 ในชื่อว่า “กรมพระคลัง” แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กรมคลัง” และในที่สุดในปี 2495 ก็ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “กรมธนารักษ์” จนถึงปัจจุบัน
แต่เดิมตั้งอยู่ที่พระบรมมหาราชวังจนถึงปี 2502 จากนั้นจึงย้ายไปที่ถนนจักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร จนถึงปี 2535 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่กระทรวงการคลังซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
อย่างไรก็ตาม สำนักประเมินราคาทรัพย์สินของกรมธนารักษ์นั้นตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคาร B ชั้น 6 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 แต่ถ้าหากคุณอยู่ในต่างจังหวัด ก็สามารถติดต่อหน่วยงานนี้ได้โดยสะดวกเช่นกัน เพราะกรมนี้มีสาขาอยู่ในทุกจังหวัดโดยใช้ชื่อหน่วยงานว่า “สำนักงานธนารักษ์พื้นที่”
กรมธนารักษ์ยังดูแลกรมย่อยอีก 4 กรม ได้แก่
กรมกษาปณ์สิทธิการ
กรมพระคลังมหาสมบัติ
กรมเงินตรา
กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา
หน้าที่หรือภารกิจหลักของกรมธนารักษ์
กรมธนารักษ์คือหน่วยงานที่มีหน้าที่หรือภารกิจหลักในการดูแลทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งมี 5 ประการด้วยกันตามที่ได้ระบุในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกรม
1. คุ้มครอง ดูแล บำรุงรักษา ให้ใช้ จัดประโยชน์ จัดทำนิติกรรม และดำเนินการเกี่ยวกับราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ เช่น การขึ้นทะเบียนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างราชพัสดุและการจัดสรรให้ส่วนราชการใช้ที่ดินเหล่านั้น
2. ผลิตเหรียญกษาปณ์ รวมถึงนำออกใช้และรับคืนเหรียญกษาปณ์ดังกล่าว ตลอดจนดำเนินการเกี่ยวกับเงินตราตามกฎหมายเกี่ยวกับเงินตรา เช่น เมื่อคุณมีเหรียญที่ชำรุดหรือเหรียญรุ่นเก่า คุณสามารถคืนเหรียญนั้นที่กรมธนารักษ์ได้
3. รับ จ่าย และควบคุมเงินคงคลังให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับเงินคงคลัง เช่น การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลัง
4. ดำเนินการกำหนดราคาประเมินของอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งรวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วยเช่นกัน
5. จัดแสดงและอนุรักษ์ทรัพย์สินมีค่าของรัฐ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามระเบียบของกรม เช่น ที่ศาลาเหรียญกษาปณ์ไทย เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า ในภารกิจที่ 4 นี้ กรมธนารักษ์มีหน้าที่ประเมินราคาที่ดิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ราคาประเมินที่ดินคือราคากลางที่ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ดินได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานเพื่อใช้เป็นแนวทางด้านราคาในการซื้อขายที่ดินให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ และธนาคารนำไปใช้พิจารณาวงเงินในการขอสินเชื่อ
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ราคาประเมินดังกล่าวในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนการคำนวณเงินค่าธรรมเนียม ภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ และภาษีธุรกิจเฉพาะอีกด้วย
เว็บไซต์ราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์
ในยุคแห่งโลกออนไลน์หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ไทยแลนด์ 4.0” นี้ การทำสิ่งที่คิดว่ายากอาจไม่ได้ยากอย่างที่คิด การค้นหาราคาประเมินที่ดินก็เช่นกัน กรมธนารักษ์ของไทยมีบริการเว็บไซต์เผยแพร่ราคาประเมินซึ่งใช้งานง่าย สามารถค้นหาข้อมูลราคาได้จากเลขที่โฉนดหรือเลขที่ดินได้ทันที ยังไม่รวมถึงฟังก์ชันสรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินในทุกจังหวัดของประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่แบ่งย่อยละเอียดยิบถึงระดับเขต ทั้งยังมีข้อมูลราคาสิ่งปลูกสร้างและอาคารชุดด้วย
https://assessprice.treasury.go.th/
ประวัติโดยย่อของกรมธนารักษ์
กรมธนารักษ์ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2476 ในชื่อว่า “กรมพระคลัง” แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กรมคลัง” และในที่สุดในปี 2495 ก็ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “กรมธนารักษ์” จนถึงปัจจุบัน
แต่เดิมตั้งอยู่ที่พระบรมมหาราชวังจนถึงปี 2502 จากนั้นจึงย้ายไปที่ถนนจักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร จนถึงปี 2535 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่กระทรวงการคลังซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
อย่างไรก็ตาม สำนักประเมินราคาทรัพย์สินของกรมธนารักษ์นั้นตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคาร B ชั้น 6 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 แต่ถ้าหากคุณอยู่ในต่างจังหวัด ก็สามารถติดต่อหน่วยงานนี้ได้โดยสะดวกเช่นกัน เพราะกรมนี้มีสาขาอยู่ในทุกจังหวัดโดยใช้ชื่อหน่วยงานว่า “สำนักงานธนารักษ์พื้นที่”
กรมธนารักษ์ยังดูแลกรมย่อยอีก 4 กรม ได้แก่
กรมกษาปณ์สิทธิการ
กรมพระคลังมหาสมบัติ
กรมเงินตรา
กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา
หน้าที่หรือภารกิจหลักของกรมธนารักษ์
กรมธนารักษ์คือหน่วยงานที่มีหน้าที่หรือภารกิจหลักในการดูแลทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งมี 5 ประการด้วยกันตามที่ได้ระบุในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกรม
1. คุ้มครอง ดูแล บำรุงรักษา ให้ใช้ จัดประโยชน์ จัดทำนิติกรรม และดำเนินการเกี่ยวกับราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ เช่น การขึ้นทะเบียนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างราชพัสดุและการจัดสรรให้ส่วนราชการใช้ที่ดินเหล่านั้น
2. ผลิตเหรียญกษาปณ์ รวมถึงนำออกใช้และรับคืนเหรียญกษาปณ์ดังกล่าว ตลอดจนดำเนินการเกี่ยวกับเงินตราตามกฎหมายเกี่ยวกับเงินตรา เช่น เมื่อคุณมีเหรียญที่ชำรุดหรือเหรียญรุ่นเก่า คุณสามารถคืนเหรียญนั้นที่กรมธนารักษ์ได้
3. รับ จ่าย และควบคุมเงินคงคลังให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับเงินคงคลัง เช่น การสั่งจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลัง
4. ดำเนินการกำหนดราคาประเมินของอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งรวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วยเช่นกัน
5. จัดแสดงและอนุรักษ์ทรัพย์สินมีค่าของรัฐ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามระเบียบของกรม เช่น ที่ศาลาเหรียญกษาปณ์ไทย เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า ในภารกิจที่ 4 นี้ กรมธนารักษ์มีหน้าที่ประเมินราคาที่ดิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ราคาประเมินที่ดินคือราคากลางที่ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ดินได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานเพื่อใช้เป็นแนวทางด้านราคาในการซื้อขายที่ดินให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ และธนาคารนำไปใช้พิจารณาวงเงินในการขอสินเชื่อ
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ราคาประเมินดังกล่าวในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนการคำนวณเงินค่าธรรมเนียม ภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ และภาษีธุรกิจเฉพาะอีกด้วย
เว็บไซต์ราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์
ในยุคแห่งโลกออนไลน์หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ไทยแลนด์ 4.0” นี้ การทำสิ่งที่คิดว่ายากอาจไม่ได้ยากอย่างที่คิด การค้นหาราคาประเมินที่ดินก็เช่นกัน กรมธนารักษ์ของไทยมีบริการเว็บไซต์เผยแพร่ราคาประเมินซึ่งใช้งานง่าย สามารถค้นหาข้อมูลราคาได้จากเลขที่โฉนดหรือเลขที่ดินได้ทันที ยังไม่รวมถึงฟังก์ชันสรุปราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินในทุกจังหวัดของประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่แบ่งย่อยละเอียดยิบถึงระดับเขต ทั้งยังมีข้อมูลราคาสิ่งปลูกสร้างและอาคารชุดด้วย
https://assessprice.treasury.go.th/