สาระน่ารู้
"ดัชนีความร้อน"
ฮิต: 1196
2566 รายงาน "ดัชนีความร้อน" พุ่งสูงทะลุเกิน 50 องศาเซลเซียส
"ดัชนีความร้อน" คืออะไร
"ดัชนีความร้อน" คือ การนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริง และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น
ดัชนีความร้อนจะสะท้อนว่าร่างกายของคนเรา “รู้สึก” ว่าอากาศร้อนแค่ไหน
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าหากความชื้นสัมพัทธ์สูง ก็จะทำให้เหงื่อระเหยยาก ผลก็คือเรารู้สึก “ร้อนกว่า” อุณหภูมิจริงของอากาศ ตัวอย่างเช่น
ถ้าอากาศมีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์ 80% จะพบว่าค่าดัชนีความร้อนคือ 38 องศา ภายใต้เงื่อนไขว่าเราอยู่ในที่ร่ม และไม่ได้ทำกิจกรรมอะไร (แต่อาจมีลมพัดเบาๆ ได้)
"ดัชนีความร้อน" สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อนำมาสู่การปฏิบัติตัวเพื่อการดูแลตนเอง โดยค่าดัชนีความร้อนในระดับต่างๆ จะส่งผลต่อสุขภาพแบ่งเป็น 4 ระดับด้วยกัน ดังนี้
ดัชนีความร้อนที่ 27-32 องศาเซลเซียส
อยู่ในระดับเฝ้าระวัง ทำให้อ่อนเพลียวิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความ ออกกำลังกาย หรือการใช้แรงงานกลางแจ้งท่ามกลางอากาศร้อน
ดัชนีความร้อนที่ 32-41องศาเซลเซียส
อยู่ในระดับเตือนภัย อาจเกิดภาวะตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
ดัชนีความร้อนที่ 41-54 องศาเซลเซียส
อยู่ในระดับอันตราย อาจมีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
ดัชนีความร้อนมากกว่า 54 องศาเซลเซียส
อยู่ในระดับอันตรายมาก เสี่ยงต่อการเกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก
ดังนั้น ในวันที่ค่าดัชนีอากาศสูง จึงควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง พยายามจิบน้ำเปล่าอยู่เรื่อยๆ ลดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ สุรา และน้ำอัดลม
"ดัชนีความร้อน" คืออะไร
"ดัชนีความร้อน" คือ การนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริง และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น
ดัชนีความร้อนจะสะท้อนว่าร่างกายของคนเรา “รู้สึก” ว่าอากาศร้อนแค่ไหน
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าหากความชื้นสัมพัทธ์สูง ก็จะทำให้เหงื่อระเหยยาก ผลก็คือเรารู้สึก “ร้อนกว่า” อุณหภูมิจริงของอากาศ ตัวอย่างเช่น
ถ้าอากาศมีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์ 80% จะพบว่าค่าดัชนีความร้อนคือ 38 องศา ภายใต้เงื่อนไขว่าเราอยู่ในที่ร่ม และไม่ได้ทำกิจกรรมอะไร (แต่อาจมีลมพัดเบาๆ ได้)
"ดัชนีความร้อน" สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อนำมาสู่การปฏิบัติตัวเพื่อการดูแลตนเอง โดยค่าดัชนีความร้อนในระดับต่างๆ จะส่งผลต่อสุขภาพแบ่งเป็น 4 ระดับด้วยกัน ดังนี้
ดัชนีความร้อนที่ 27-32 องศาเซลเซียส
อยู่ในระดับเฝ้าระวัง ทำให้อ่อนเพลียวิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความ ออกกำลังกาย หรือการใช้แรงงานกลางแจ้งท่ามกลางอากาศร้อน
ดัชนีความร้อนที่ 32-41องศาเซลเซียส
อยู่ในระดับเตือนภัย อาจเกิดภาวะตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
ดัชนีความร้อนที่ 41-54 องศาเซลเซียส
อยู่ในระดับอันตราย อาจมีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
ดัชนีความร้อนมากกว่า 54 องศาเซลเซียส
อยู่ในระดับอันตรายมาก เสี่ยงต่อการเกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก
ดังนั้น ในวันที่ค่าดัชนีอากาศสูง จึงควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง พยายามจิบน้ำเปล่าอยู่เรื่อยๆ ลดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ สุรา และน้ำอัดลม